การมาของ DeepSeek จากประเทศจีนนั้นเรียกได้ว่าส่งผลสะเทือนไปทั้งวงการ AI ถึงความถูก และไวของ AI ตัวดังกล่าว แน่นอนว่ายังมีอีกวงการหนึ่งที่พยายามใช้ประโยชน์จากชื่อเสียงของ AI ตัวดังกล่าว นั่นคือกลุ่มแฮกเกอร์
จากรายงานโดยเว็บไซต์ Help Net Security ได้เปิดเผยถึงการตรวจพบถึงการแอบอ้างชื่อ AI ชื่อดัง DeepSeek เพื่อใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์โดยกลุ่มแฮกเกอร์ โดยพฤติกรรมการแอบอ้างชื่อที่ถูกตรวจพบนั้นก็มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น
ภาพจาก : https://www.helpnetsecurity.com/2025/01/29/deepseek-popularity-exploited-malware-scams/
นอกจากการหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าวแล้ว สำหรับตัว DeepSeek ของแท้เองนั้น ทีมนักวิจัยจาก KELA ยังได้ออกมาเปิดเผยอีกว่า เป็นเครื่องมือที่มีช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถทำการแหกคุก (Jailbreak) เพิ่อผลิตคอนเทนต์รุนแรง รวมไปถึงคอนเทนต์อันตรายต่าง ๆ ออกมาได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งทางทีมวิจัยได้คาดการณ์ว่า แฮกเกอร์จะมีการใช้ความสามารถของ DeepSeek ไปใช้ในการสร้างเครื่องมือหลอกลวง อย่างเช่น อีเมล Phishing สำหรับการหลอกลวงข้อมูลอีเมลของธุรกิจต่าง ๆ (Business Email Compromise หรือ BEC) ที่มีความแม่นยำทั้งด้านไวยากรณ์ และตัวสะกด จนอีเมลมีความน่าเชื่อถือสูง ซึ่งตัว AI นั้นสามารถทำได้หลากหลายภาษา ไปจนถึงการนำเอา DeepSeek มาช่วยสร้างเว็บไซต์ปลอม และสร้างเว็บขายของหลอกลวงพร้อมรีวิวปลอมที่สร้างจาก AI
นอกจากความเสี่ยงด้านบนแล้ว ทางแหล่งข่าวยังได้รายงานถึงการที่องค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา มีการสั่งห้ามพนักงานใช้งาน DeepSeek อย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ โดยการสั่งห้ามนั้นครอบคลุมทั้งการใช้งานแบบส่วนตัว และส่วนรวม ไม่เพียงเท่านั้นแหล่งข่าวยังได้รายงานถึงปัญหาของตัว DeepSeek ที่มีการจำกัดการใช้งานแทบจะในทันทีภายหลังเปิดใช้งานแบบสาธารณะ โดยอ้างว่า ถูกโจมตีจากหลากหลายแหล่ง ซึ่งในจุดนี้ก็ไม่ได้มีการยืนยันแต่อย่างใดว่าจริงเท็จเพียงใด สำหรับอนาคตการใช้งานของ AI ตัวดังกล่าวนั้นจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามข่าวกันต่อไป
|