ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

งานวิจัยพบ ผู้ป่วยออทิสติกพึงพอใจคำแนะนำจาก ChatGPT มากกว่าคนจริง ๆ

งานวิจัยพบ ผู้ป่วยออทิสติกพึงพอใจคำแนะนำจาก ChatGPT มากกว่าคนจริง ๆ
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-ai-image/ordinary-human-job-performed-by-anthropomorphic-robot_94948861.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 1,557
เขียนโดย :
0 %E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%9A+%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81+ChatGPT+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87+%E0%B9%86
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

“ออทิสติก” เมื่อพูดถึงคำนี้แล้วอาจจะเป็นคำที่สร้างความหนักใจให้กับผู้ปกครอง และญาติพี่น้องในหลาย ๆ ครอบครัว เนื่องมาจากการที่เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับด้านพัฒนาการและการเข้าสังคม ทำให้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและอาจมีปัญหาในการเรียนและการทำงาน แต่ก็ใช่ว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะทำงานอะไรไม่ได้เลย เพราะ คนดังหลายคนที่เข้าขั้นอัจฉริยะก็มีการถูกพบว่ามีอาการในรูปแบบออทิสติก หรือคล้ายคลึงเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น บิล เกตต์ ผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ หรือ อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของ เทสล่า แต่ถึงแม้จะเก่งกาจ คนกลุ่มนี้ก็มักจะมีปัญหาด้านการปรับตัวกับสังคมทั่วไปโดยเฉพาะในที่ทำงาน แต่การเข้ามาของ AI อาจจะช่วยพวกเขาได้

จากรายงานโดย Carnegie Mellon University จากสหรัฐอเมริกา ทางมหาวิทยาลัยได้มีการวิจัยการปรับตัวเข้ากับสถานที่ทำงานของผู้ป่วยออทิสติกด้วยการนำเอา AI อย่าง ChatGPT เข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือให้คำแนะนำเพื่อการปรับตัวเข้ากับสังคมในที่ทำงาน โดยผลการทดลองนั้นอิงบนกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยออทิสติกจำนวน 11 คน ทำการทดลองเปรียบเทียบการขอคำแนะนำจาก 2 แหล่ง คือ ChatGPT 4 ซึ่งเป็น AI และการคุยกับคนจริง ๆ ที่ปลอมตัวเป็นแชทบอท

บทความเกี่ยวกับ OpenAI อื่นๆ

ซึ่งผลการทดลองออกมานั้นสร้างความประหลาดใจให้กับเหล่านักวิจัยที่แต่เดิมให้ข้อสันนิษฐานว่า ตัวแชทบอทที่ทำงานบน AI อย่าง ChatGPT นั้นมีข้อกังขาด้านการให้คำแนะนำที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง เหมาะบ้างไม่เหมาะบ้าง แต่ผลออกมาผู้ใช้งานกลับมีความชื่นชอบ และเลือกที่จะใช้บริการแชทบอท AI อย่าง ChatGPT 4 มากกว่าการปรึกษากับคนจริง ๆ (ซึ่งในกรณีนี้ปลอมตัวเป็นแชทบอทอีกที) ซึ่งกลุ่มผู้เข้ารับการทดลองได้ให้ความเห็นว่า แชทบอท AI นั้น “ให้คำแนะนำที่ เร็ว ดีและเข้าใจง่ายกว่า” ซึ่งสาเหตุนั้นมาจากการที่ตัว ChatGPT นั้นให้คำตอบแบบขาวกับดำ (ถูกหรือผิดเท่านั้น) และเขียนคำตอบขึ้นมาในรูปแบบที่เป็น ข้อ ๆ ซึ่งสามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายสำหรับทุกคน ผิดกับการปรึกษากับคนจริงที่มักจะให้คำตอบที่เข้าใจยากกว่า

ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านการหางานเพื่อผู้ป่วยโรคออทิสติกนั้นกลับให้ความเห็นว่า คำตอบของตัว AI หลายข้อกลับ “ไม่ช่วย” ตัวผู้ป่วยเท่าไหร่ เช่น การถามว่าจะหาเพื่อนยังไง ตัว AI ก็เพียงแค่แนะนำว่าให้เดินเข้าไปคุยเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยนั้นสามารถทำได้อย่างยากลำบาก และอาจไม่มีความสบายใจที่จะทำ ซึ่งทางกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนั้นสามารถหาทางออกที่ดีกว่าให้ได้

จากงานวิจัยรวมกับความเห็นผู้เชี่ยวชาญจะเห็นได้ว่า การเข้ามาของ AI นั้นสามารถที่จะช่วยผู้ที่ขาดโอกาสได้จริง แม้อาจจะไม่ได้มากหรือสมบูรณ์อย่างที่เห็น และยังคงมีข้อต้องปรับปรุงอีกมาก แต่ก็นับว่าเป็นก้าวสำคัญไม่แพ้การนำเอา AI เข้ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในรูปแบบอื่น เช่น การนำเอามาใช้ช่วยตรวจโรคเพื่อรักษาก่อนที่จะสายเกินไป ดังนั้น ถึงแม้การนำเอา AI เข้ามาใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มข้างต้นจะยังมีข้อโต้แย้งอีกมาก แต่ในอนาคตอันใกล้นั้น AI จะสามารถช่วยเหลือกลุ่มเฉพาะทางเช่นนี้จะต้องมีการพัฒนาออกมาอย่างแน่นอน ขอให้ผู้ที่สนใจด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาสังคมติดตามข่าวต่อไปอย่างใกล้ชิด


ที่มา : www.cmu.edu

0 %E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%9A+%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81+ChatGPT+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87+%E0%B9%86
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น