เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ทาง กสทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้จัดการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26GHz โดยมีผู้เข้าร่วมประมูล 5 ราย ได้แก่
โดยสำหรับผลการประมูลมีดังนี้
ผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ประมูลทั้งสิ้นจำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2x5 MHz
ผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ประมูลทั้งสิ้นจำนวน 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz
ผลการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ประมูลทั้งสิ้นจำนวน 27 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 100 MHz
(ประมูลออก 26 ใบอนุญาต)
สำหรับความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวน 7 ใบอนุญาต ไม่มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูล
ทำไมถึงต้องประมูลทีละหลายใบอนุญาต?
จะเห็นว่าในการประมูลคลื่นความถี่ในแต่ละย่าน จะมีอยู่ด้วยกันหลายใบอนุญาต ทำไมแต่ละบริษัทถึงต้องถือครองทีละหลายๆ ใบ? การนำแต่ละคลื่นไปใช้งาน จำเป็นต้องมีคลื่นที่เพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น คลื่นความถี่ 2600 MHz หากจะนำไปใช้งาน 5G จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 70 MHz หรืออย่างดีต้อง 100 MHz ซึ่งใบอนุญาตที่ออกมาประกอบไปด้วย 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ทำให้การใช้งาน 5G ต้องมีอย่างน้อย 7 ชุดด้วยกันถึงจะได้คลื่นความถี่ที่เพียงพอ
คลื่นความถี่ย่าน 2600MHz เป็นคลื่นเดียวที่เหมาะกับ 5G ที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ที่สุด
ในแต่ละย่านความถี่จะมีคุณสมบัติที่ต่างกันไป ยิ่งตัวเลขน้อยจะยิ่งสามารถขยายพื้นที่ไปในวงกว้างได้มากกว่า แต่มีขนาดความจุและอัตราการรับส่งข้อมูลที่น้อยกว่า กลับกัน ย่านความถี่ที่มีตัวเลขสูงก็จะสามารถขยายพื้นที่ได้ในวงแคบ แต่มีขนาดความจุและอัตราการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า สำหรับคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ 1800 MHz เหมาะกับการให้บริการ 4G มากกว่า ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz มีขนาดความจุที่สูงเกินไปต้องรอเทคโนโลยีมารองรับในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ปัจจุบันยังไม่สามารถใช้งานได้ จึงทำให้การประมูลครั้งนี้ คลื่นความถี่ 2600 MHz ดูเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของ 5G
คลื่นความถี่ 2600 MHz นั้น จริงๆ แล้วสามารถให้บริการ 5G ได้แต่ก็ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคลื่นที่เหมาะสมที่สุดก็คือ คลื่นความถี่ 3500 MHz ที่มีขนาดคลื่นที่เหมาะสมกว่า ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากกว่า แต่สำหรับในประเทศไทยคลื่นความถี่ 3500 MHz ถูกถือครองและใช้งานโดย ไทยคม ซึ่งจะหมดสัมปทานในช่วงกลางปี 2564 เครือข่าย 5G ที่แท้จริงจึงอาจต้องรอการประมูลในครั้งหน้า
คลื่นความถี่ 1800 MHz ขายไม่ออก
สำหรับการประมูลในครั้งนี้ มีอยู่ด้วยกันถึง 4 ช่วงคลื่นความที่ แต่ผลการประมูลจะถูกขายเพียงแค่ 3 คลื่นความถี่เท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 7 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 MHz ไม่มีผู้ประมูลก็เพราะว่า ราคาเปิดที่สูงเกินไปถึง 12,486 ล้านบาท เมื่อเทียบกับคลื่นความถี่ 2,600 MHz ซึ่งเป็นพระเอกของงานนี้ กลับมีราคาเปิดเพียง 1,862 ล้านบาทเท่านั้น
|
... |