นักวิจัยแห่งสถาบัน Berkeley ได้เปิดเผยรายละเอียดของเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเปลี่ยนรูปภาพให้เป็นโมเดล 3 มิติ ซึ่งถ้าพูดถึงทางเทคนิคแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ที่มันน่าสนใจเพราะว่าผลงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ สามารถสร้างโมเดล 3 มิติ ได้จากภาพนิ่งแค่เพียงภาพเดียว
ในการสร้างโมเดล 3 มิติ จากภาพนิ่ง นักวิจัยได้เปิดเผยรายละเอียดว่า เป็นการนำระบบ Convolutional neural networks (CNN) ที่ผ่านการเรียนรู้รูปแบบการขึ้นรูปวัตถุเป็น 3 มิติ จากโมเดล CAD จากนั้นระบบจะทำการวิเคราะห์รูปภาพกับโมเดล 3 มิติ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ความน่าจะเป็นและสร้างเป็นโมเดล 3 มิติ ขึ้นมา
โครงข่ายประสาทเทียม หรือ ข่ายงานประสาทเทียม (อังกฤษ: Artificial neural network) คือ โมเดลทางคณิตศาสตร์หรือโมเดลทางคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผลสารสนเทศด้วยการคำนวณแบบคอนเนคชันนิสต์ (Connectionist) แนวคิดเริ่มต้นของเทคนิคนี้ได้มาจากการศึกษาโครงข่ายไฟฟ้าชีวภาพ (Bioelectric network) ในสมอง ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ประสาท (Neurons) และ จุดประสานประสาท (Synapses) ตามโมเดลนี้ ข่ายงานประสาทเกิดจากการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท จนเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน
หลังจากได้โมเดล 3 มิติ แบบหยาบๆ มาแล้ว ตัว CNN จะจำโมเดลที่ได้มาประเมินผลเทียบกับภาพนิ่งต้นแบบอีกที เพื่อให้ตัวโมเดลมีความแม่นยำมากขึ้น
เท่าที่ดูจากผลการทำงานของมันแล้ว ต้องถือว่าน่าทึ่งมากทีเดียว ในอนาคตอาจจะถูกนำมาใช้ช่วยในงานด้านกราฟฟิก ประหยัดเวลาในการทำงานของมนุษย์ไปได้เยอะเลย
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |