ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

นักวิจัยเผยผลสำรวจ พบแอปฯ ปลอมพร้อมมัลแวร์ความเสี่ยงสูงบน Play Store ถึง 2,040 ตัว

นักวิจัยเผยผลสำรวจ พบแอปฯ ปลอมพร้อมมัลแวร์ความเสี่ยงสูงบน Play Store ถึง 2,040 ตัว

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 3,810
เขียนโดย :
0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%AF+%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%99+Play+Store+%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87+2%2C040+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์และ CSIRO’s Data61 ได้เผยผลการสำรวจแอปฯ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยบน Google Play Store พบแอปฯ ปลอมที่มีมัลแวร์ความเสี่ยงสูงอยู่บนสโตร์แอนดรอยด์มากถึง 2,040 แอปฯ ด้วยกัน

จริงๆ แล้วมีแอปฯ ปลอมมากกว่าจำนวนที่กล่าวข้างต้น แต่ส่วนใหญ่ของแอปฯ จะไม่มีมัลแวร์ให้พบเห็น แต่จะมีการขอเข้าถึงข้อมูลมือถือที่มีความเสี่ยงสูง โดยมักจะเป็นเกมดังที่ถูกเลียนแบบ ซึ่งท็อป 3 ของเกมที่ถูกเลียนแบบ ได้แก่ Temple Run, Free Flow และ Hill Climb Racing

บทความเกี่ยวกับ Google อื่นๆ

วิธีการตรวจสอบของนักวิจัยนี้ ได้ใช้ neural network นำแอปฯ ยอดนิยมกว่า 10,000 แอปฯ มาเปรียบเทียบกับแอปฯ อื่นๆ ในสโตร์ ที่มีความคล้ายกันทั้งรูปแบบไอคอน ทั้งรายละเอียดต่างๆ ซึ่งทำให้พบแอปฯ ปลอมมากกว่า 50,000 แอปฯ ด้วยกัน ทางนักวิจัยจึงสโคปให้แคบลงด้วยการคัดให้เหลือเฉพาะแอปฯ ที่มีมัลแวร์ 7,200 แอปฯ และคัดเฉพาะแอปฯ ที่มีความเสี่ยงสูงเหลือ 2,040 แอปฯ ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนที่มากอยู่ดี

นักวิจัยเผยผลสำรวจ พบแอปฯ ปลอมพร้อมมัลแวร์ความเสี่ยงสูงบน Play Store ถึง 2,040 ตัว

ทำไมถึงมีแอปฯ พวกนี้ หลุดมาอยู่บน Google Play Store มากขนาดนี้ล่ะ?

ถ้าพูดถึงแพลตฟอร์มที่รวบรวมแอปฯ บนสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดในตลาดตอนนี้ ก็จะแบ่งออกเป็น 2 เจ้าใหญ่ๆ ได้แก่ Google Play Store กับ Apple Store ซึ่งทาง Apple Store นั้น จะมีกฏของ Apple รวมทั้งไกด์ไลน์สำหรับการพัฒนาแอปฯ ส่งเข้า Apple Store อยู่ ซึ่งถือเป็นการกรองแอปฯ ที่มีคุณภาพอยู่แล้วในระดับหนึ่ง ส่วนทาง Google Play Store ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแอปฯ บนแอนดรอยด์ ที่ได้รับความนิยมจากสมาร์ทโฟนแทบจะทุกรุ่นบนโลกใบนี้ กลับเลือกที่จะเปิดให้หลายๆ แอปฯ หลุดเข้ามา แล้วจึงใช้ Neural networks หรือ Machine learning กรองออกในภายหลังแทน ซึ่งกลายเป็นว่า ในหลายๆ ครั้ง แอปฯ ที่มีปัญหาเหล่านี้ ก็ไปอยู่บนมือถือผู้ใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แทนที่ทางแพลตฟอร์มจะเป็นผู้กรองแอปฯ ที่มีคุณภาพให้กับผู้ใช้ กลับกลายเป็นการผลักภาระให้ ผู้ใช้งานต้องเรียนรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์/แอปพลิเคชั่นให้มากขึ้น เพื่อระวังการใช้งานแอปฯ ต่างๆ ผ่าน Play Store แทนนั่นเอง เพราะฉะนั้น หากจะโหลดแอปฯ อะไรแปลกๆ เราต้องศึกษาแอปฯ นั้นให้ดีก่อนทุกครั้ง ว่าผู้พัฒนาเชื่อถือได้มั้ย? มีการขอเข้าถึงข้อมูลแปลกๆ รึเปล่า? หรือมีการแอปฯ ติดตั้งอะไรเพิ่มเติมบนมือถือเราหรือไม่? 


ที่มา : www.talkandroid.com , www.computerworld.com.au

0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%AF+%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%99+Play+Store+%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87+2%2C040+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
Content Editor สายโดรน ... ไม่ได้บินโดรนนะ แต่โดรนกระทำมาตล๊อดดด
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น