ในปี 2014 ที่ผ่านมา "Facebook" (เฟซบุ๊ก) เว็บไซต์และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังได้ทำการซื้อ WhatsApp แอพพลิเคชั่นแชทยอดนิยมในช่วงเวลานั้นด้วยการจ่ายหนักถึง 16,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ จนอาจกล่าวได้ว่าผู้ก่อตั้ง WhatsApp ทั้งสองอย่างแจน คูย์ม (Jan Koum) และไบรอัน แอคทอน (Brian Acton) กลายเป็นเศรษฐีภายในชั่วพริบตาเลยทีเดียว
แต่กระนั้น คูย์มยังคงทำหน้าที่บริหารต่อ ในขณะที่ทางแอคทอนได้ลาออกเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาและออกไปทำมูลนิธิของตนเอง และในขณะที่ตอนนี้ทางเฟซบุ๊กกำลังเจอวิกฤตอยู่ แอคทอนก็ได้โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัวสั้นๆ บอกกล่าวไปยังผู้ติดตามของเขาว่า "ให้ลบแอพฯ เฟซบุ๊กทิ้งซะและสร้างแฮชแท็กขึ้นด้วยว่า #deletefacebook" โดยที่ตัวเขายังไม่ได้ตอบความคิดเห็นใดๆ ที่ถามเข้ามา
อย่างไรก็ตามข้อความที่แอคทอนได้โพสต์ลงไปนั้น ไม่มีใครทราบแน่ชัดเจนถึงที่มาหรือความรู้สึกของเขาที่มีต่อเฟซบุ๊ก แต่ที่แน่ๆ เมื่อเดือนที่ผ่านมาแอคทอนได้ลงทุนกว่า 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐลง "Signal" แอพพลิเคชั่นที่เด่นชัดให้ทุกคนสนทนาแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีภาพและปลอดภัย (หรืออาจกล่าวได้ว่ามันคือการต่อยอดหรือเป็นอีกฉบับหนึ่งของ WhatsApp นั่นเอง)
หลายคนคาดว่าสาเหตุที่แอคทอนได้โพสต์ข้อความโจมตีเฟซบุ๊กนั้น อาจมาจากช่วงประมาณ 5 วันก่อนหน้านี้ที่หุ้นของทางเฟซบุ๊กตกลงซึ่งเป็นผลมาจากข้อมูลส่วนบุคคลของทาง Cambridge Analytica (สถาบันวิเคราะห์ข้อมูล) ที่ถูกเปิดเผยออกมาอย่างไม่ถูกต้องนั่นเอง
แอคทอนไม่ใช่อดีตทีมบริหารรายแรกที่ออกมาแสดงความไม่สบายใจต่างๆ ของตนเองเกี่ยวกับบริษัท แต่เมื่อปีที่ผ่านมา ชามัท พาลิฮาพิทติยา (Chamath Palihapitiya) อดีตหัวหน้าในฝ่ายวิเคราะห์การลงทุนของทางเฟซบุ๊กได้สร้างเครื่องมือเพื่อแบ่งแยกสังคมแล้วกำหนดว่าสังคมควรเป็นอย่างไร แถมทั้งยังมีอดีตผู้บริหารและทีมงานอีกหลายคนได้ย้อนกลับมาพูดถึงความคิดเห็นต่างๆ ต่อทางเฟซบุ๊ก เช่น ฌอน ปาร์คเกอร์ (Sean Parker), จัสติน โรเซ็นสไตน์ (Justin Rosenstein) , และโรเจอร์ แมคนามี (Roger McNamee) เป็นต้น
|