ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

พรบ.คอมพิวเตอร์ กับการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างถูกกฏหมาย

พรบ.คอมพิวเตอร์ กับการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างถูกกฏหมาย

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 15,206
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

พรบ.คอมพิวเตอร์

พอยุคสมัยเปลี่ยนไปเทคโนโลยีก้าวล้ำ นอกจากปัจจัย 4 ก็ยังมีอินเทอร์เน็ตที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ดั้งนั้นเรามาทำความรู้จักกับกฎหมายที่มีผลโดยตรงต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในการรับรู้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นกับกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550”

การออกพระราชบัญญัติฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายหลักๆ ก็คือ หนึ่ง ระบุความผิดและบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น คนที่ไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามคำสั่งที่กำหนดหรือใช้ในการล่วงรู้ แก้ไขข้อมูลของบุคคลอื่นอย่างพวกแฮคเกอร์และ สอง เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและประชาชนผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกรูปแบบเพื่อไม่ให้เราไปละเมิดสิทธิ์ของใครและไม่ให้ใครมาสร้างความเดือดร้อนกับเราได้นั่นเอง ส่วนที่ระบุ 2550 เพราะเป็นปีที่ออกและประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการออกกฎหมายในลักษณะนี้  ทีนี้หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่าการทำความผิดตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.เป็นอย่างไรบ้าง

ความผิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ความผิดโดยระบบ คือ เราทำผิดที่ข้อมูลคอมฯ หรือตัวระบบฯ ซึ่งหมายถึงการขโมยข้อมูลและการแฮคระบบ
  2. ความผิดต่อเนื้อหา คือ การทำผิดแบบโพสเนื้อหาไปตามสื่อออนไลน์ ซึ่งเนื้อหาที่โพสนั้นมีลักษณะที่เป็นเท็จ, ว่ากล่าวให้ร้ายผู้อื่นทำให้เกิดความเสียหาย เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือ พวกเนื้อหาลามกอนาจาร

ดังที่เราเห็นตามข่าวอยู่บ่อยๆ ว่ามีการแฮคเวปไซค์กระทรวงบ้าง หรือ แฮค Account ดาราคนดังบ้างแบบนี้เป็นความตั้งใจกระทำความผิด แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ คือ ความผิดประเภทที่สองนี่แหละ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กรณีของเพจดัง “สมรัก พรรคเพื่อเก้ง” ที่ถูกนายวรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเตรียมฟ้องร้องกรณีนำภาพไปตัดต่อเชิงล้อเลียน เสียดสีทำให้เกิดความเสียหาย รวมถึงอีกหลายกรณีในลักษณะนี้ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ตโดยเฉพาะเฟสบุ๊ค ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือข้อความที่เป็นเท็จ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ทำให้ผู้อื่นเสียหายหรือเรื่องลามก แม้ตัวเราไม่ได้เป็นคนโพสแต่แค่กดไลน์หรือแชร์ข้อมูลต่อก็ถือเป็นความผิด

ส่วนโทษของผู้ทำความผิดประเภทโพสเนื้อหาแชร์ข้อมูลพวกนี้ไปตามสื่อออนไลน์ ก็มีตั้งแต่จำคุกห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แถมดีไม่ดีบางกรณีผู้ทำความผิดอาจได้คดีอาญาความผิดฐานหมิ่นประมาทเพิ่มมาอีกคดีด้วย

โลกอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่สาธารณะไร้พรมแดนที่เราไม่อาจรู้ได้ว่า ข้อมูลที่เราโพสนั้นจะกระจายไปถึงไหน ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวจริงๆ ของเราบนอินเทอร์เน็ต ฉะนั้นจะโพสหรือแชร์ข้อมูลใดๆ อย่าได้นึกสนุกอย่างเดียวแต่ต้องคิดให้ดีทุกครั้งก่อนโพสด้วย เพราะคดีความไม่ใช่เรื่องตลก  ;-)

บทความโดย : Mindterra News

แหล่งอ้างอิง : https://www.thaisecurityawareness.com/cyber-law/computer-related-crime-act-1/


ที่มา : www.thaisecurityawareness.com


0 %E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ดาวน์โหลด
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น